Web-based application นี้สร้างขึ้นเพื่อให้บุคคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงการใช้งานปัญญาประดิษฐ์สำหรับช่วยในการวินิจฉัยโรคบนภาพถ่ายทางการแพทย์ โดยจะเริ่มจากการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ช่วยวินิจฉัยโรคปอด และ โควิค-19 ด้วยปัญญาประดิษฐ์จากภาพถ่ายเอกซเรย์และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ทางคณะผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบช่วยวินิจฉัยโรคที่ทำงานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ระบบช่วยวินิจฉัยสามารถช่วยให้โรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกล หรือผู้สนใจได้เข้าถึงเทคโนโลยีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก และสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา อันจะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัย โดยไม่ต้องส่งต่อคนไข้เข้ามายังโรงพยาบาลขนาดใหญ่

ระบบการช่วยตรวจวินิจฉัยโรครูปแบบ web-based application ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์สำหรับช่วยวินิจฉัยโรคปอด และ โควิด-19 จากภาพถ่ายเอกซเรย์ทรวงอกและภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้งานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อวินิจฉัยโรคได้อย่างทันท่วงทีโดยไม่จำเป็นต้องมีระบบที่ต้องจัดหาซื้อมาเพิ่ม

โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน (Fundamental Fund; FF) ปีงบประมาณ 2565 เพื่อส่งเสริมปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานขับเคลื่อนประเทศในอนาคต (AI for All) และ พัฒนากำลังคนที่สามารถสร้าง พัฒนาเครื่องมือทางปัญญาประดิษฐ์ และทำงานโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และส่งเสริมการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อเป็นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

ในการพัฒนาเบื้องต้นของ web-based application แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือการช่วยวินิจฉัยโรคปอด และโควิค-19 บนภาพเอกซเรย์ปอด และอีกส่วน คือการช่วยวินิจฉัยโรคปอด และโควิค-19 บนภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด

ส่วนแรกจะอาศัยหลักการของ Machine Learning ในการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ และ Deep Learning แยกแยะกลุ่มภาพ ที่ได้จากข้อมูลภาพส่วนทรวงอกบนภาพเอกซเรย์

ส่วนที่สอง จะใช้ Deep Learning ในการช่วยพยากรณ์แยกแยะกลุ่มภาพจากข้อมูลของภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ข้อมูลภาพสามารถบันทึกข้อมูลผลการพยากรณ์ ในรูปแบบ PDF ไฟล์ บนเครื่องมือที่ท่านใช้ หรือให้ส่งไฟล์ PDF กลับไปยังอีเมลที่ท่านลงทะเบียนไว้ เพื่อการรักษาความปลอดภัยความลับในการรักษาและสิทธิของคนไข้ ข้อมูลภาพของคนไข้ที่นำเข้ามาพยากรณ์ผลจะไม่ถูกบันทึกเก็บไว้บนระบบ